การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง ประกันภัยขนส่งทางทะเล การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง หมายถึง การประกันภัยที่คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายต่อเรือและทรัพย์สินหรือสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล และยังขยายขอบเขตความคุ้มครองไปถึงความเสียหายขณะขนส่งสินค้าทางอากาศ ทางบก หรือทางรถไฟ ซึ่งต่อเนื่องกับการขนส่งทางทะเลด้วย
การประกันภัยสินค้าระหว่างการขนส่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งโดยวิธีใดมักจะเรียกรวมกันว่าการประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล ซึ่งการทำประกันภัยขนส่งสินค้านั้นจะใช้กรมธรรม์ประกันภัยขนส่งทางทะเลในการรับประกันภัยทั้งสิ้น แม้ว่าสินค้านั้นจะบรรทุกโดยทางรถยนต์ หรือทางอากาศก็ตาม
ประเภทของการประกันภัยทางทะเล การประกันภัยตัวเรือ (Hull Insurance) : คุ้มครองความเสียหายต่อตัวเรือจากอุบัติเหตุต่างๆ เช่น ภัยจากลมพายุ, เรือเกยตื้น, เรือชนกัน, เรือชนหินโสโครก เป็นต้น และยังหมายความรวมไปถึงการประกันค่าระวางด้วยการประกันภัยสินค้า (Cargo Insurance) : คุ้มครองสินค้าที่เอาประกันภัยซึ่งอยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล ภัยที่ได้รับการคุ้มครองขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ผู้เอาประกันภัยเลือกซื้อความคุ้มครองไว้บุคคลผู้มีสิทธิหรือมีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจจะเอาประกันภัยทางทะเลได้ ผู้ที่จะเอาประกันภัยได้ต้องมีส่วนได้ส่วนเสียในเหตุที่เอาประกันภัย เช่น เจ้าของเรือ, เจ้าของสินค้าหรือผู้รับขนส่ง เป็นต้น ใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าขณะเกิดความเสียหาย ผู้นั้นย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัทชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับตนเองได้
ภัยที่คุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครองในกรมธรรม์ ภัยทางทะเล (Peril of the sea) เช่น ภัยจากพายุ, มรสุม, เรือจม, เรือชนกัน และเรือเกยตื้น อัคคีภัย (Fire) ได้แก่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากไฟไหม้ แต่ต้องไม่เกิดจากความประพฤติผิดของผู้เอาประกันภัยเอง หรือเกิดจากการลุกไหม้ขึ้นมาเองของสินค้าอันเนื่องมาจากธรรมชาติ การทิ้งทะเล(Jettisons) หมายถึง การเอาของทิ้งทะเลเพื่อให้เรือเบาลง โจรกรรม (Thieves) หมายถึง การโจรกรรมอย่างรุนแรงโดยการใช้กำลังเพื่อช่วงชิงทรัพย์ การกระทำโดยทุจริตของคนเรือ(Barratry) หมายถึง การกระทำโดยมิชอบของคนเรือโดยเจตนากลั่นแกล้งทุจริต ตั้งแต่นายเรือจนกระทั่งถึงลูกเรือในอันที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินและการกระทำนั้นต้องปราศจากการรู้เห็นเป็นใจ ของเจ้าของทรัพย์ ภัยอื่นๆ (Other Peril) ภัยที่นอกเหนือจากข้อ 1-5 ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมจะต้องชำระเบี้ยประกันภัยในอัตราที่สูงขึ้น เช่น ต้องการความคุ้มครองภัยสงครามเพิ่มเติม** เป็นต้น **Special Hazard Policy หมายถึง กรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษ ซึ่งโดยปกติกรมธรรม์จะไม่ให้ความคุ้มครองไว้ ได้แก่ ภัยสงคราม การนัดหยุดงาน การจลาจล และการวุ่นวายในประเทศ หากต้องการให้มีความคุ้มครองภัยเหล่านี้ ผู้เอาประกันภัยจะต้องตกลงกับบริษัทก่อนทำสัญญา โดยเสียเบี้ยประกันสำหรับภัยเหล่านี้เพิ่มเติม สำหรับภัยสงคราม (War) จะให้ความคุ้มครองเฉพาะเมื่อสินค้าอยู่บนเรือ และให้ความคุ้มครองเพิ่มอีก 15 วัน ณ ท่าปลายทาง หลังจากเรือสินค้ามาถึง หากไม่สามารถขนถ่ายสินค้าลงได้
การเลือกซื้อความคุ้มครอง การเลือกซื้อความคุ้มครองจะมี 3 แบบให้เลือกโดยแต่ละแบบจะให้ความคุ้มครองไม่เท่ากัน
F.P.A. (Free from Particular Average) แปลว่า การประกันตามเงื่อนไขนี้ให้ความคุ้มครองแคบที่สุด กล่าวคือ บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะเมื่อสินค้าเสียหายโดยสิ้นเชิง (Total Loss) เท่านั้น ถ้าสินค้านั้นได้รับความเสียหายแต่เพียงบางส่วน (Partial Loss) จะไม่ได้รับการชดใช้ W.A. (With Average) แปลว่า การประกันภัยตามเงื่อนไขนี้ให้ความคุ้มครองความเสียหายโดยสิ้นเชิง และความเสียหายบางส่วนด้วย แต่ความเสียหายบางส่วนนี้จะต้องไม่ต่ำกว่า 3% ของข้อมูลค่าทรัพย์สินที่เอาประกันภัย All Risks เป็นเงื่อนไขความคุ้มครองที่กว้างที่สุด คือ ให้ความคุ้มครองทั้งความเสียหายบางส่วน และสิ้นเชิงโดยไม่จำกัดเปอร์เซ็นต์ความสูญเสีย ภัยที่คุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครองในกรมธรรม์ ในตลาดการประกันภัยทางทะเลและขนส่งประเทศไทย เงื่อนไขความคุ้มครองที่ผู้รับประกันภัยส่วนใหญ่ จัดให้แก่ผู้เอาประกันภัย มักจะยึดถือตามเงื่อนไขความคุ้มครองที่ใช้กันในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นเงื่อนไขความคุ้มครองที่จัดทำขึ้นโดย กลุ่มผู้รับประกันภัย อันได้แก่ The Institute of London Underwriters, the Liverpool Underwriters Association และ Lloyds Underwriters Association เงื่อนไขความคุ้มครองที่จัดทำโดยกลุ่มผู้รับประกันภัยดังกล่าวข้างต้น จะขึ้นด้วยคำว่า ‘Institute’ ซึ่งเป็นที่รู้จักแลยอมรับกันดีทั่วไป ในวงการธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ธนาคาร หรือ ตัวแทนในการพิจารณาค่าสินไหมทดแทนในการประกันภัย ขนส่งสินค้าทางทะเลโดยทั่วไป มีชุดเงื่อนไขความคุ้มครอง 3 ชุด ที่เป็นที่นิยมกัน ซึ่งได้กำหนดขอบเขตความเสี่ยงภัยที่คุ้มครอง ลดหลั่นลงไปตามลำดับ ดังนี้
The Institute Cargo Clauses ‘A’ The Institute Cargo Clauses ‘B’ The Institute Cargo Clauses ‘C’ แบบกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง แบบกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลที่ใช้กับธุรกิจประกันภัยในประเทศต่างๆ ทั่วโลก มีข้อกำหนดเงื่อนไขความคุ้มครอง 2 รูปแบบ คือ แบบ S.G. Form และ แบบ MAR Form
ความคุ้มครองแบบ S.G. Form S.G. Form (Ship and Goods) เป็นความคุ้มครองการประกันภัยทางทะเลแบบเดิมที่ใช้กันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1779 มีอยู่ 3 แบบ ดังนี้แบบเงื่อนไข F.P.A (Free of Particular Average) การประกันภัยตามเงื่อนไขนี้ให้ความคุ้มครองแคบที่สุด โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะเมื่อสินค้าได้รับความเสียหายโดยสิ้นเชิง (Total Loss) เท่านั้น ถ้าสินค้าได้รับความเสียหายเพียงบางส่วน (Partial Loss) จะไม่ได้รับการชดใช้แบบเงื่อนไข W.A (With Average) การประกันภัยตามเงื่อนไขนี้ให้ความคุ้มครองความเสียหายโดยสิ้นเชิง และความเสียหายบางส่วนด้วย แต่ความเสียหายบางส่วนนี้จะต้องไม่ต่ำกว่า 3% ของมูลค่าทรัพย์สินที่เอาประกันภัยแบบเงื่อนไข All Risks เป็นเงื่อนไขความคุ้มครองที่กว้างที่สุด ให้ความคุ้มครองความเสียหายทั้งความเสียหายสิ้นเชิง และความเสียหายบางส่วน โดยไม่จำกัดเปอร์เซ็นต์ความสูญเสีย อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขความคุ้มครองแบบนี้ จำกัดความเสียหายทางกายภาพต่อสินค้าเท่านั้น และสาเหตุต้องมาจากเหตุการณ์ภายนอก ความเสียหายที่เกิดจากลักษณะอันเป็นการเสื่อมสภาพของตัวสินค้าเอง เช่น ผัก ผลไม้ที่บูดเน่าเองตามธรรมชาติ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง นอกจากนี้แล้ว การล่าช้า และการสูญเสียตลาด (เช่น เรือใช้เวลาเดินทางนานผิดปกติกว่าจะถึงปลายทาง ทำให้สินค้าราคาตก เมื่อถึงปลายทาง เพราะไม่ทันกับฤดูการขาย เป็นต้น) ก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง ตารางเปรียบเทียบเงื่อนไขความคุ้มครอง ความคุ้มครอง ICC1 ICC2 ICC3 ไฟไหม้ การระเบิด คุ้มครอง คุ้มครอง คุ้มครอง ยานพาหนะทางบกพลิกคว่ำ หรือตกราง คุ้มครอง คุ้มครอง คุ้มครอง ยานพาหนะหรือเรือชน หรือปะทะกับวัตถุอื่นใด คุ้มครอง คุ้มครอง คุ้มครอง การขนถ่ายสินค้า ณ ท่าเรือประสบภัย คุ้มครอง คุ้มครอง คุ้มครอง การโยนทิ้งทะเล (Jettison) คุ้มครอง คุ้มครอง คุ้มครอง ความเสียหายหรือสูญเสียของส่วนรวม (General Average Loss) คุ้มครอง คุ้มครอง คุ้มครอง ความเสียหายเกิดจากการปกป้องหรือลดความเสียหายของสินค้า คุ้มครอง คุ้มครอง คุ้มครอง ค่าจัดส่งสินค้าต่อไปยังจุดหมายปลายทาง คุ้มครอง คุ้มครอง คุ้มครอง แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ฟ้าผ่า คุ้มครอง คุ้มครอง ไม่คุ้มครอง สินค้าจากเรือถูกคลื่นซัดตกเรือ คุ้มครอง คุ้มครอง ไม่คุ้มครอง การที่น้ำทะเล น้ำทะเลสาบ หรือน้ำในแม่น้ำเข้าไปในระวางเรือ ยานพาหนะ ตู้สินค้า หรือสถานที่เก็บ คุ้มครอง คุ้มครอง ไม่คุ้มครอง สินค้าหีบห่อเสียหายอย่างสิ้นเชิง เพราะตกจากเรือ หรือจากการยกขึ้นลงเรือเปลี่ยนถ่ายเรือ หรือยานพาหนะ คุ้มครอง คุ้มครอง ไม่คุ้มครอง เปียกน้ำฝน คุ้มครอง ไม่คุ้มครอง ไม่คุ้มครอง การกระทำด้วยความมุ่งร้ายต่อบุคคลอื่น คุ้มครอง ไม่คุ้มครอง ไม่คุ้มครอง การปล้นโดยโจรสลัด คุ้มครอง ไม่คุ้มครอง ไม่คุ้มครอง ถูกลักขโมย คุ้มครอง ไม่คุ้มครอง ไม่คุ้มครอง อุบัติเหตุอื่นๆ ที่ไม่เข้าข่าย ข้อข้างบน 17 ข้อ (ตั้งแต่ข้อไฟไหม้หรือการระเบิดถึงข้อถูกลักขโมย) เช่น แตก หัก ฉีกขาด เปื้อน ภาชนะบุบสลายทำให้สินค้ารั่วไหล ระหว่างขนส่ง คุ้มครอง คุ้มครอง ไม่คุ้มครอง ความสูญเสียเหรือเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย เกิดจากภัยทุกอย่างที่มีสาเหตุจากภายนอก และเกิดขึ้นโดยไม่คาดหมาย คุ้มครอง คุ้มครอง ไม่คุ้มครอง
การเลือกซื้อความคุ้มครองสำหรับประกันภัยทางทะเลและขนส่ง เลือกโดยการใช้หนังสือคุ้มครองชั่วคราว (Cover Note) การใช้ Cover Note หมายถึง เอกสารที่ผู้รับประกันภัย ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่า สินค้าตามรายการที่ระบุไว้ใน Cover Note นั้น ได้รับความคุ้มครองจากผู้รับประกันภัยแล้ว ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ใน Cover Note นั้น ตามปกติผู้เอาประกันภัยควรแจ้งให้ผู้รับประกันภัยออก Cover Note ทันทีที่เปิด Letter of Credit (L/C) หรือสั่งซื้อสินค้า และเมื่อผู้เอาประกันภัยทราบรายละเอียดจำนวน**บห่อ ชื่อเรือ วันที่สินค้าลงเรือจากผู้ขายแล้ว จึงแจ้งบริษัทประกันภัยออกกรมธรรม์ให้เลือกโดยการใช้กรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิด (Open Cover หรือ Open Policy) Open Cover หรือ Open Policy จะใช้ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัย สั่งสินค้าจำนวนบ่อยครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าทุกๆ ครั้งที่มีการนำเข้า/ส่งออก สินค้าจะได้รับความคุ้มครองในทันที ซึ่งถ้าใช้วิธีออก Cover Note อาจไม่สะดวก และบางครั้งอาจลืมทำประกันภัยได้ โดยทั่วไปแล้วผู้ส่งสินค้าออกจะทำประกันเป็นกรมธรรม์ระยะยาว สัญญาคุ้มครองแบบ Open Cover อาจมีผลบังคับใช้สำหรับระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ระยะ 12 เดือน โดยมีเงื่อนไขการต่ออายุโดยอัตโนมัติ หรืออาจมีผลบังคับเรื่อยไปโดยไม่มีกำหนดจนกว่าจะมีการยกเลิกข้อแนะนำในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่เกิดความสูญเสีย และ/หรือความเสียหายที่อาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ผู้เอาประกันภัยพึงปฏิบัติดังนี้
สำรวจสภาพสินค้าในทันทีทุกครั้งก่อนรับมอบสินค้า ถ้าพบสินค้าเสียหาย/สูญหาย ให้ผู้ขนส่ง/ผู้รับฝากสินค้า ออกหลักฐานระบุความเสียหายหรือทำเป็นหมายเหตุลงในใบรับสินค้า กรณีขนส่งด้วยตู้ลำเลียง (Container) ต้องตรวจว่า ตู้ลำเลียง และ Seal มีสภาพเรียบร้อยถูกต้อง ถ้าตู้ลำเลียงหรือ Seal เสียหาย/สูญหาย หรือเป็น Seal อื่นต้องแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นหลักฐาน ยื่นหนังสือเรียกร้องให้ผู้ขนส่ง/ผู้ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายทันที กรณีไม่พบความเสียหายขณะรับมอบ แต่พบในภายหลังต้องทำหนังสือแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องภายใน 3 วัน นับจากวันรับมอบสินค้า ในทุกกรณีเมื่อพบสินค้าเสียหาย/สูญหาย รีบแจ้งให้ผู้ประกันภัยทราบในทันที การจัดเตรียมและส่งมอบหลักฐานและเอกสารประกอบในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่ครบถ้วนจะช่วยให้การพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสามารถดำเนินการไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว
หลักฐานในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน Claim Bill ต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง Original Marine Insurance Policy ใบกำกับสินค้าและใบแสดงการบรรจุ**บห่อ Invoice & Packing List ใบตราส่งสินค้า Bill of Lading หลักฐานแสดงความเสียหาย เช่น Survey Report, Wharf Survey Note, Short Landed Cargo List หลักฐานหรือเอกสารประกอบอื่นๆ เช่น Charter Party, Sale Contract, Stowage Plan สำเนาหนังสือเรียกร้องค่าเสียหายถึงผู้ขนส่ง/ผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมหนังสือตอบจากผู้ขนส่ง/ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น โทรตอนนี้ 0841033339กดที่นี่เพื่อให้แสงทองโบรคเกอร์ดูแลคุณเป็นกรณีพิเศษทางไลน์ออฟฟิชเชี่ยล About us Saengthong Broker has a team in the insurance industry with more than 20 years of experience. We want to serve customers closely and that service must be the best service for customers. It is a service that is pleasing and suitable for customers so much that customers want to spread the word to pass good things
Copyright © SINCE 2017
Saengthong Broker Company Limited Broker License: ว00006/2561
Registration number: 0105560072116
Contact Address
Saengthong Broker Co., Ltd.
1, Soi Bang Kradi 1 Yaek 10, Samae Dam Subdistrict,
Bang Khun Thian District, Bangkok, 10150.
Tel: (+66)20208318
Contact Referring Page