LINE

ประกันภัยขนส่งสินค้า ประกันภัยรับผิดผู้ขนส่งสินค้า

ประกันภัยขนส่งสินค้า (Cargo Insurance)

การประกันภัยขนส่งสินค้า เป็นการประกันเพื่อคุ้มครองสินค้าหรือทรัพย์สินที่ขนส่งจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อโดยทางเรือเดินสมุทร เครื่องบินพาณิชย์ หรือทางพัสดุไปรษณีย์ จากอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น เรือถูกไฟไหม้ เรือจม และความเสียหายจากการขนถ่ายสินค้าขึ้นลงจากเรือ หรืออาจขยายความคุ้มครองความเสียหายถึงขณะลำเลียงสินค้าทางรถยนต์หรือรถไฟ เป็นต้น ภัยที่ได้รับความคุ้มครองขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ผู้เอาประกันภัยเลือกซื้อความคุ้มครองไว้


ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจ่ายเบี้ยประกันคือ เจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้า ทั้งนี้ในกรณีที่สินค้าเกิดความเสียหาย เฉพาะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าเท่านั้น ที่มีสิทธิเรียกร้องให้บริษัทประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับตนเองได้

ทำไมผู้ประกอบการธุรกิจจึงควรทำประกันภัยขนส่งสินค้า

  1. ช่วยคุ้มครองค่าเสียหาย การทำประกันภัยขนส่งสินค้า(Cargo Insurance) คือการประกันภัย ที่บรรเทาภัยหรือความเสี่ยงต่อตัวสินค้าจากอุบัติเหตุ ซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง การจัดเก็บหรือการพักสินค้าระหว่างการขนส่ง ทั้งระหว่างที่สินค้าอยู่ในต่างประเทศและในประเทศไทย การทำประกันภัยขนส่งสินค้า จะช่วยคุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายของสินค้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าตก แตก กระแทก และพัง ตลอดจนสร้างความอุ่นใจให้กับลูกค้าจนกว่าสินค้าจะถึงมือ
  2. ใช้คำนวณค่าภาษีนำเข้า การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศนั้น จะมีการคิดคำนวณเรื่องภาษีนำเข้า ซึ่งจำเป็นต้องใช้ค่าประกันในการนำมาคิดคำนวณด้วย โดยเฉพาะหากสินค้านั้นมูลค่าสูง ก็อาจจะเหมือนคุณได้ทำประกันฟรีๆ กันเลยทีเดียว แต่ถึงแม้ว่ามูลค่าสินค้าของจะไม่ได้สูงมากนัก การทำประกันภัยขนส่งสินค้าก็มีความจำเป็นอยู่ดี เพราะมูลค่าเบี้ยประกัน ไม่มีทางเกินจากราคาสินค้าอย่างแน่นอน และคุณจะไม่มีทางขาดทุนจากเรื่องนี้ ศึกษาการชำระภาษีเพิ่มเติมที่ 3 วิธี ในการชำระค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียมศุลกากร
  3. ช่วยคุ้มครองความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ผู้ให้บริการขนส่งสินค้า จะมีการบิดพลิ้วหรือไม่ในกรณีที่เกิดความเสียหายกับสินค้าในขณะขนส่ง โดยเฉพาะหากคุณเลือกบริษัทผู้ให้บริการขนส่งที่ไม่เป็นที่รู้จัก การทำประกันภัย จะช่วยคุ้มครองความรับผิดชอบจากผู้ให้บริการได้ เหมือนการมีสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่จะทำให้คุณไม่ถูกเอาเปรียบ เพราะฉะนั้น ทางที่ดี ควรเลือกใช้บริการกับบริษัทชิปปิ้งที่มีความน่าเชื่อถือ มีประสบการณ์ทำงานยาวนาน และเป็นที่รู้จัก อีกทั้งต้องมีช่องทางติดต่อสื่อสารที่มีตัวตน ชัดเจน อ้างอิงได้
  4. เป็นข้อกำหนดตามสัญญาของบริษัท บริษัทชิปปิ้งบางแห่ง มีเงื่อนไขให้ผู้ใช้บริการขนส่งสินค้าทำประกันภัย เพื่อระบุถึงขอบเขตความรับผิดชอบระหว่างบริษัทกับผู้ใช้บริการชิปปิ้ง เช่นการกำหนดให้ลูกค้าซื้อประกันภัยทุกครั้งหากสินค้ามีมูลค่าเกิน 500 บาท หากลูกค้าไม่ได้ทำประกันภัย ถือว่าสินค้ามีมูลค่าน้อยกว่า 500 บาท และค่าประกันภัยสินค้า หากสูญหายจะคิดในอัตรา 3% ของค่าขนส่ง เป็นต้น อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เงื่อนไขการใช้บริการ
  5. ลดเวลา เคลมไว เมื่อสินค้าเกิดความเสียหาย เพราะขั้นตอนในการขนส่งสินค้าข้ามประเทศนั้น ตามปกติแล้วก็ใช้เวลาในการรอพอสมควรอยู่แล้ว หากขนส่งทางรถ ใช้ระยะเวลาประมาณ 4-7 วัน และทางเรือ ใช้ระยะเวลาประมาณ 15-30 วัน สำหรับผู้ที่สั่งซื้อสินค้านั้น คงไม่มีใครที่อยากจะรอสินค้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเกิดปัญหาสินค้าเสียหาย เมื่อมีการเคลม กลับจะยิ่งเสียเวลามากขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้น การทำประกันภัยขนส่งสินค้า จะช่วยลดเวลาและเคลมไวขึ้นเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันกับสินค้าของคุณ
ดังนั้นให้แสงทองโบรคเกอร์ช่วยดูแลคุณเถอะครับ

ประเภทการประกันภัยขนส่งสินค้า

  1. การประกันภัยขนส่งสินค้าภายในประเทศ (Inland Transit) การประกันภัยคุ้มครองความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งที่อยู่ภายในประเทศ เช่น การขนส่งสินค้าจากกรุงเทพฯ ไปยังผู้เป็นเจ้าของสินค้าที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องเป็นเจ้าของสินค้า ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นผู้ขนส่งสินค้าเอง หรือว่าจ้างบริษัทขนส่งเป็นผู้ขนส่งสินค้า ด้วยยานพาหนะที่ระบุในกรมธรรม์
  2. ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1. กรมธรรม์ประกันภัยแบบคุ้มครองความเสี่ยงภัยทุกชนิด อันมีสาเหตุจาก
      - ความเสียหายหรือความสูญเสียโดยสิ้นเชิงหรือบางส่วนของสินค้าที่เอาประกันภัยอันเกิดจากอุบัติเหตุหรือสาเหตุภายนอก
      - ความเสียหายทั่วไป (General Average) ที่เกิดขึ้นกับสินค้าที่เอาประกันภัย รวมทั้งส่วนเฉลี่ยความเสียหายทั่วไป (General Average Contribution) และค่ากู้ภัย (Salvage Charges) ที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องชดใช้ตามประเพณีปฏิบัติหรือตามกฎหมาย
    2. กรมธรรม์ประกันภัยแบบระบุภัย อันมีสาเหตุจาก
      - อัคคีภัย การระเบิด หรือฟ้าผ่า
      - ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง หรือสินค้าที่เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุชนหรือโดนกับยานพาหนะอื่น หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดนอกยานพาหนะ รวมถึงหัวลากและหางลาก หรือรถพ่วงของยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งนั้นเอง
      - เรือจมหรือเกยตื้น เครื่องบินตก รถไฟตกราง รถ รวมถึงหัวลากและหางลาก หรือรถพ่วงพลิกคว่ำ หรือตกถนน หรือตกสะพาน หรือตกไหล่ทาง
      - ภัยเพิ่มพิเศษที่ได้ระบุไว้ชัดเจนในตารางกรมธรรม์ประกันภัย
    ระยะเวลาความคุ้มครอง แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
    1. แบบกำหนดเวลา (Time Policy) ให้ความคุ้มครองตามระยะเวลาคุ้มครองที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ผู้เอาประกันภัยสามารถกำหนดวันและเวลาคุ้มครองได้ตามที่ต้องการ ยกเว้นเวลาสิ้นสุดของกรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทประกันภัยจะกำหนดเป็นมาตรฐานไว้ที่เวลา 12.00 น.
    2. แบบขนส่งเฉพาะเที่ยว (Voyage Policy) ให้ความคุ้มครองสินค้าเฉพาะเที่ยว ความคุ้มครองจะสิ้นสุดเมื่อสินค้าถึงจุดหมายปลายทาง หรือครบกำหนดระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย แล้วแต่เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อน หากมีการขนส่งสินค้าเที่ยวใหม่ ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้บริษัทประกันภัยทราบ เพื่อออกกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่
  3. การประกันภัยขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Marine Cargo Insurance)
    การทำประกันภัยความเสียหายในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง โดยทั่วไปจะเป็นการขนส่งสินค้าด้วยเรือเดินทะเล ซึ่งมีการบรรทุกสินค้าเป็นจำนวนมาก การขนส่งสินค้าทางทะเลมักจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าเป็นประจำ ดังนั้นการประกันภัยจึงมีส่วนช่วยให้เจ้าของสินค้าไม่ต้องเดือดร้อนจากการที่สินค้าได้รับความเสียหายจากการขนส่งทางทะเล กรมธรรม์ประกันภัยขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ จำแนกตามสินค้านำเข้าและส่งออก (Import/Export) ให้ความคุ้มครอง ดังนี้
    - กรมธรรม์สำหรับสินค้าส่งออกในราคา C.I.F.และกรมธรรม์สำหรับสินค้านำเข้าในราคา F.O.B.หรือ C.F.R./C and F ให้ความคุ้มครองตลอดเส้นทางตั้งแต่โรงงานของผู้ขายจนถึงโรงงานของผู้ซื้อ
    - กรมธรรม์สำหรับสินค้าส่งออกในราคา F.O.B.หรือ C.F.R./C and F ให้ความคุ้มครองตั้งแต่เริ่มเดินทางออกจากโรงงานไปจนถึงส่งมอบให้กับผู้ขนส่งสินค้าที่ท่าเรือต้นทาง

เอกสารที่ใช้ทำประกันภัยขนส่งสินค้า

  1. Letter of Credit หรือ L/C
  2. ใบกำกับสินค้า (Invoice)
  3. ใบตราส่ง (Bill of Lading หรือ B/L) กรณีขนส่งทางทะเล หรือ Air Waybill (AWB) กรณีขนส่งทางอากาศ
  4. ใบแสดงรายการหีบห่อสินค้า (Packing List) (ถ้ามี)

เงื่อนไขการซื้อระหว่างประเทศ

ในปัจจุบันนั้น เงื่อนไขการซื้อขายระหว่างประเทศ มีหลากหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมใช้กันจะมี 3 แบบ ดังต่อไปนี้

  1. FOB หรือที่เรียกว่า Free on Board
    ผู้ขายรับผิดชอบเพียงนำสินค้าลงเรื่อที่ต้นทางเท่านั้น
    ผู้ซื้อรับผิดชอบค่าระวางเรือ และค่าประกันภัย
  2. C F R / C and F หรือ Cost and Freight
    ผู้ขายรับผิดชอบเพียงนำสินค้าลงเรื่อที่ต้นทาง และค่าระวางเรือ
    ผู้ซื้อรับผิดชอบค่าประกันภัยเท่านั้น
  3. C I F หรือ Cost Insurance and Freight
    ผู้ขายรับผิดชอบเพียงนำสินค้าลงเรื่อที่ต้นทาง, ค่าประกันภัย และค่าระวางเรือ

เอกสารที่ใช้ในทำประกันภัยขนส่งสินค้า

  1. Letter of Credit หรือ L/C
  2. ใบกำกับสินค้า (Invoice)
  3. ใบตราส่ง (Bill of Lading หรือ B/L) กรณีขนส่งทางทะเล หรือ Air Waybill (AWB) กรณีขนส่งทางอากาศ
  4. ใบแสดงรายการหีบห่อสินค้า (Packing List) (ถ้ามี)
กดที่นี่เพื่อให้แสงทองโบรคเกอร์ดูแลคุณเป็นกรณีพิเศษทางไลน์ออฟฟิชเชี่ยล
เกี่ยวกับเรา

แสงทองโบรคเกอร์มีทีมด้านประกันวินาศภัยที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี เรามีความต้องการให้บริการกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดและบริการนั้นต้องเป็นบริการที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า โดยเป็นบริการที่ทำให้ถูกใจและเหมาะกับคุณลูกค้ามากจนลูกค้าต้องการบอกต่อเพื่อส่งผ่านสิ่งดีๆ

Copyright © SINCE 2017

Saengthong Broker Company Limited

ใบอนุญาตนายหน้า ว00006/2561

เลขทะเบียน :0105560072116

ติดต่อที่อยู่

บริษัท แสงทอง โบรคเกอร์ จำกัด

1 ซอยบางกระดี่ 1 แยก 10 แขวงแสมดำ

เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150

โทร: (+66)20208318

ช่องทางการติดต่อเพจแนะนำ
เว็บไซต์ประกันภัยรถยนต์ปลอดภัย
ใบอนุญาตนายหน้า ว00006/2561