LINE

การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง ประกันภัยขนส่งทางทะเล

การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง (Marine Insurance)

การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง หมายถึง การประกันภัยที่คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายต่อเรือและทรัพย์สินหรือสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล และยังขยายขอบเขตความคุ้มครองไปถึงความเสียหายขณะขนส่งสินค้าทางอากาศ ทางบก หรือทางรถไฟ ซึ่งต่อเนื่องกับการขนส่งทางทะเลด้วย

การประกันภัยสินค้าระหว่างการขนส่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งโดยวิธีใดมักจะเรียกรวมกันว่าการประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล ซึ่งการทำประกันภัยขนส่งสินค้านั้นจะใช้กรมธรรม์ประกันภัยขนส่งทางทะเลในการรับประกันภัยทั้งสิ้น แม้ว่าสินค้านั้นจะบรรทุกโดยทางรถยนต์ หรือทางอากาศก็ตาม

ประเภทของการประกันภัยทางทะเล

  1. การประกันภัยตัวเรือ (Hull Insurance) : คุ้มครองความเสียหายต่อตัวเรือจากอุบัติเหตุต่างๆ เช่น ภัยจากลมพายุ, เรือเกยตื้น, เรือชนกัน, เรือชนหินโสโครก เป็นต้น และยังหมายความรวมไปถึงการประกันค่าระวางด้วย
  2. การประกันภัยสินค้า (Cargo Insurance) : คุ้มครองสินค้าที่เอาประกันภัยซึ่งอยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล ภัยที่ได้รับการคุ้มครองขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ผู้เอาประกันภัยเลือกซื้อความคุ้มครองไว้

บุคคลผู้มีสิทธิหรือมีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจจะเอาประกันภัยทางทะเลได้ ผู้ที่จะเอาประกันภัยได้ต้องมีส่วนได้ส่วนเสียในเหตุที่เอาประกันภัย เช่น เจ้าของเรือ, เจ้าของสินค้าหรือผู้รับขนส่ง เป็นต้น ใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าขณะเกิดความเสียหาย ผู้นั้นย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัทชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับตนเองได้

ภัยที่คุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครองในกรมธรรม์

  1. ภัยทางทะเล (Peril of the sea) เช่น ภัยจากพายุ, มรสุม, เรือจม, เรือชนกัน และเรือเกยตื้น
  2. อัคคีภัย (Fire) ได้แก่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากไฟไหม้ แต่ต้องไม่เกิดจากความประพฤติผิดของผู้เอาประกันภัยเอง หรือเกิดจากการลุกไหม้ขึ้นมาเองของสินค้าอันเนื่องมาจากธรรมชาติ
  3. การทิ้งทะเล(Jettisons) หมายถึง การเอาของทิ้งทะเลเพื่อให้เรือเบาลง
  4. โจรกรรม (Thieves) หมายถึง การโจรกรรมอย่างรุนแรงโดยการใช้กำลังเพื่อช่วงชิงทรัพย์
  5. การกระทำโดยทุจริตของคนเรือ(Barratry) หมายถึง การกระทำโดยมิชอบของคนเรือโดยเจตนากลั่นแกล้งทุจริต ตั้งแต่นายเรือจนกระทั่งถึงลูกเรือในอันที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินและการกระทำนั้นต้องปราศจากการรู้เห็นเป็นใจ ของเจ้าของทรัพย์
  6. ภัยอื่นๆ (Other Peril) ภัยที่นอกเหนือจากข้อ 1-5 ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมจะต้องชำระเบี้ยประกันภัยในอัตราที่สูงขึ้น เช่น ต้องการความคุ้มครองภัยสงครามเพิ่มเติม** เป็นต้น

**Special Hazard Policy หมายถึง กรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษ ซึ่งโดยปกติกรมธรรม์จะไม่ให้ความคุ้มครองไว้ ได้แก่ ภัยสงคราม การนัดหยุดงาน การจลาจล และการวุ่นวายในประเทศ หากต้องการให้มีความคุ้มครองภัยเหล่านี้ ผู้เอาประกันภัยจะต้องตกลงกับบริษัทก่อนทำสัญญา โดยเสียเบี้ยประกันสำหรับภัยเหล่านี้เพิ่มเติม สำหรับภัยสงคราม (War) จะให้ความคุ้มครองเฉพาะเมื่อสินค้าอยู่บนเรือ และให้ความคุ้มครองเพิ่มอีก 15 วัน ณ ท่าปลายทาง หลังจากเรือสินค้ามาถึง หากไม่สามารถขนถ่ายสินค้าลงได้

การเลือกซื้อความคุ้มครอง

การเลือกซื้อความคุ้มครองจะมี 3 แบบให้เลือกโดยแต่ละแบบจะให้ความคุ้มครองไม่เท่ากัน

  1. F.P.A. (Free from Particular Average) แปลว่า การประกันตามเงื่อนไขนี้ให้ความคุ้มครองแคบที่สุด กล่าวคือ บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะเมื่อสินค้าเสียหายโดยสิ้นเชิง (Total Loss) เท่านั้น ถ้าสินค้านั้นได้รับความเสียหายแต่เพียงบางส่วน (Partial Loss) จะไม่ได้รับการชดใช้
  2. W.A. (With Average) แปลว่า การประกันภัยตามเงื่อนไขนี้ให้ความคุ้มครองความเสียหายโดยสิ้นเชิง และความเสียหายบางส่วนด้วย แต่ความเสียหายบางส่วนนี้จะต้องไม่ต่ำกว่า 3% ของข้อมูลค่าทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
  3. All Risks เป็นเงื่อนไขความคุ้มครองที่กว้างที่สุด คือ ให้ความคุ้มครองทั้งความเสียหายบางส่วน และสิ้นเชิงโดยไม่จำกัดเปอร์เซ็นต์ความสูญเสีย

ภัยที่คุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครองในกรมธรรม์

ในตลาดการประกันภัยทางทะเลและขนส่งประเทศไทย เงื่อนไขความคุ้มครองที่ผู้รับประกันภัยส่วนใหญ่ จัดให้แก่ผู้เอาประกันภัย มักจะยึดถือตามเงื่อนไขความคุ้มครองที่ใช้กันในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นเงื่อนไขความคุ้มครองที่จัดทำขึ้นโดย กลุ่มผู้รับประกันภัย อันได้แก่ The Institute of London Underwriters, the Liverpool Underwriters Association และ Lloyds Underwriters Association เงื่อนไขความคุ้มครองที่จัดทำโดยกลุ่มผู้รับประกันภัยดังกล่าวข้างต้น จะขึ้นด้วยคำว่า ‘Institute’ ซึ่งเป็นที่รู้จักแลยอมรับกันดีทั่วไป ในวงการธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ธนาคาร หรือ ตัวแทนในการพิจารณาค่าสินไหมทดแทนในการประกันภัย ขนส่งสินค้าทางทะเลโดยทั่วไป มีชุดเงื่อนไขความคุ้มครอง 3 ชุด ที่เป็นที่นิยมกัน ซึ่งได้กำหนดขอบเขตความเสี่ยงภัยที่คุ้มครอง ลดหลั่นลงไปตามลำดับ ดังนี้

  1. The Institute Cargo Clauses ‘A’
  2. The Institute Cargo Clauses ‘B’
  3. The Institute Cargo Clauses ‘C’

แบบกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง

แบบกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลที่ใช้กับธุรกิจประกันภัยในประเทศต่างๆ ทั่วโลก มีข้อกำหนดเงื่อนไขความคุ้มครอง 2 รูปแบบ คือ แบบ S.G. Form และ แบบ MAR Form

  1. ความคุ้มครองแบบ S.G. Form
    S.G. Form (Ship and Goods) เป็นความคุ้มครองการประกันภัยทางทะเลแบบเดิมที่ใช้กันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1779 มีอยู่ 3 แบบ ดังนี้
    1. แบบเงื่อนไข F.P.A (Free of Particular Average)
      การประกันภัยตามเงื่อนไขนี้ให้ความคุ้มครองแคบที่สุด โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะเมื่อสินค้าได้รับความเสียหายโดยสิ้นเชิง (Total Loss) เท่านั้น ถ้าสินค้าได้รับความเสียหายเพียงบางส่วน (Partial Loss) จะไม่ได้รับการชดใช้
    2. แบบเงื่อนไข W.A (With Average)
      การประกันภัยตามเงื่อนไขนี้ให้ความคุ้มครองความเสียหายโดยสิ้นเชิง และความเสียหายบางส่วนด้วย แต่ความเสียหายบางส่วนนี้จะต้องไม่ต่ำกว่า 3% ของมูลค่าทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
    3. แบบเงื่อนไข All Risks
      เป็นเงื่อนไขความคุ้มครองที่กว้างที่สุด ให้ความคุ้มครองความเสียหายทั้งความเสียหายสิ้นเชิง และความเสียหายบางส่วน โดยไม่จำกัดเปอร์เซ็นต์ความสูญเสีย อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขความคุ้มครองแบบนี้ จำกัดความเสียหายทางกายภาพต่อสินค้าเท่านั้น และสาเหตุต้องมาจากเหตุการณ์ภายนอก ความเสียหายที่เกิดจากลักษณะอันเป็นการเสื่อมสภาพของตัวสินค้าเอง เช่น ผัก ผลไม้ที่บูดเน่าเองตามธรรมชาติ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง นอกจากนี้แล้ว การล่าช้า และการสูญเสียตลาด (เช่น เรือใช้เวลาเดินทางนานผิดปกติกว่าจะถึงปลายทาง ทำให้สินค้าราคาตก เมื่อถึงปลายทาง เพราะไม่ทันกับฤดูการขาย เป็นต้น) ก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
ตารางเปรียบเทียบเงื่อนไขความคุ้มครอง
ความคุ้มครองICC1ICC2ICC3
ไฟไหม้ การระเบิดคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครอง
ยานพาหนะทางบกพลิกคว่ำ หรือตกรางคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครอง
ยานพาหนะหรือเรือชน หรือปะทะกับวัตถุอื่นใดคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครอง
การขนถ่ายสินค้า ณ ท่าเรือประสบภัยคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครอง
การโยนทิ้งทะเล (Jettison)คุ้มครองคุ้มครองคุ้มครอง
ความเสียหายหรือสูญเสียของส่วนรวม (General Average Loss)คุ้มครองคุ้มครองคุ้มครอง
ความเสียหายเกิดจากการปกป้องหรือลดความเสียหายของสินค้าคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครอง
ค่าจัดส่งสินค้าต่อไปยังจุดหมายปลายทางคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครอง
แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ฟ้าผ่าคุ้มครองคุ้มครองไม่คุ้มครอง
สินค้าจากเรือถูกคลื่นซัดตกเรือคุ้มครองคุ้มครองไม่คุ้มครอง
การที่น้ำทะเล น้ำทะเลสาบ หรือน้ำในแม่น้ำเข้าไปในระวางเรือ ยานพาหนะ ตู้สินค้า หรือสถานที่เก็บคุ้มครองคุ้มครองไม่คุ้มครอง
สินค้าหีบห่อเสียหายอย่างสิ้นเชิง เพราะตกจากเรือ หรือจากการยกขึ้นลงเรือเปลี่ยนถ่ายเรือ หรือยานพาหนะคุ้มครองคุ้มครองไม่คุ้มครอง
เปียกน้ำฝนคุ้มครองไม่คุ้มครองไม่คุ้มครอง
การกระทำด้วยความมุ่งร้ายต่อบุคคลอื่นคุ้มครองไม่คุ้มครองไม่คุ้มครอง
การปล้นโดยโจรสลัดคุ้มครองไม่คุ้มครองไม่คุ้มครอง
ถูกลักขโมยคุ้มครองไม่คุ้มครองไม่คุ้มครอง
อุบัติเหตุอื่นๆ ที่ไม่เข้าข่าย ข้อข้างบน 17 ข้อ (ตั้งแต่ข้อไฟไหม้หรือการระเบิดถึงข้อถูกลักขโมย) เช่น แตก หัก ฉีกขาด เปื้อน ภาชนะบุบสลายทำให้สินค้ารั่วไหล ระหว่างขนส่งคุ้มครองคุ้มครองไม่คุ้มครอง
ความสูญเสียเหรือเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย เกิดจากภัยทุกอย่างที่มีสาเหตุจากภายนอก และเกิดขึ้นโดยไม่คาดหมายคุ้มครองคุ้มครองไม่คุ้มครอง

การเลือกซื้อความคุ้มครองสำหรับประกันภัยทางทะเลและขนส่ง

  1. เลือกโดยการใช้หนังสือคุ้มครองชั่วคราว (Cover Note)
    การใช้ Cover Note หมายถึง เอกสารที่ผู้รับประกันภัย ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่า สินค้าตามรายการที่ระบุไว้ใน Cover Note นั้น ได้รับความคุ้มครองจากผู้รับประกันภัยแล้ว ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ใน Cover Note นั้น ตามปกติผู้เอาประกันภัยควรแจ้งให้ผู้รับประกันภัยออก Cover Note ทันทีที่เปิด Letter of Credit (L/C) หรือสั่งซื้อสินค้า และเมื่อผู้เอาประกันภัยทราบรายละเอียดจำนวน**บห่อ ชื่อเรือ วันที่สินค้าลงเรือจากผู้ขายแล้ว จึงแจ้งบริษัทประกันภัยออกกรมธรรม์ให้
  2. เลือกโดยการใช้กรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิด (Open Cover หรือ Open Policy)
    Open Cover หรือ Open Policy จะใช้ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัย สั่งสินค้าจำนวนบ่อยครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าทุกๆ ครั้งที่มีการนำเข้า/ส่งออก สินค้าจะได้รับความคุ้มครองในทันที ซึ่งถ้าใช้วิธีออก Cover Note อาจไม่สะดวก และบางครั้งอาจลืมทำประกันภัยได้
    โดยทั่วไปแล้วผู้ส่งสินค้าออกจะทำประกันเป็นกรมธรรม์ระยะยาว สัญญาคุ้มครองแบบ Open Cover อาจมีผลบังคับใช้สำหรับระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ระยะ 12 เดือน โดยมีเงื่อนไขการต่ออายุโดยอัตโนมัติ หรืออาจมีผลบังคับเรื่อยไปโดยไม่มีกำหนดจนกว่าจะมีการยกเลิก

ข้อแนะนำในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

ในกรณีที่เกิดความสูญเสีย และ/หรือความเสียหายที่อาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ผู้เอาประกันภัยพึงปฏิบัติดังนี้

  1. สำรวจสภาพสินค้าในทันทีทุกครั้งก่อนรับมอบสินค้า
  2. ถ้าพบสินค้าเสียหาย/สูญหาย ให้ผู้ขนส่ง/ผู้รับฝากสินค้า ออกหลักฐานระบุความเสียหายหรือทำเป็นหมายเหตุลงในใบรับสินค้า
  3. กรณีขนส่งด้วยตู้ลำเลียง (Container) ต้องตรวจว่า ตู้ลำเลียง และ Seal มีสภาพเรียบร้อยถูกต้อง ถ้าตู้ลำเลียงหรือ Seal เสียหาย/สูญหาย หรือเป็น Seal อื่นต้องแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นหลักฐาน
  4. ยื่นหนังสือเรียกร้องให้ผู้ขนส่ง/ผู้ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายทันที
  5. กรณีไม่พบความเสียหายขณะรับมอบ แต่พบในภายหลังต้องทำหนังสือแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องภายใน 3 วัน นับจากวันรับมอบสินค้า
  6. ในทุกกรณีเมื่อพบสินค้าเสียหาย/สูญหาย รีบแจ้งให้ผู้ประกันภัยทราบในทันที

การจัดเตรียมและส่งมอบหลักฐานและเอกสารประกอบในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่ครบถ้วนจะช่วยให้การพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสามารถดำเนินการไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว

หลักฐานในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
  1. หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน Claim Bill
  2. ต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง Original Marine Insurance Policy
  3. ใบกำกับสินค้าและใบแสดงการบรรจุ**บห่อ Invoice & Packing List
  4. ใบตราส่งสินค้า Bill of Lading
  5. หลักฐานแสดงความเสียหาย เช่น Survey Report, Wharf Survey Note, Short Landed Cargo List
  6. หลักฐานหรือเอกสารประกอบอื่นๆ เช่น Charter Party, Sale Contract, Stowage Plan
  7. สำเนาหนังสือเรียกร้องค่าเสียหายถึงผู้ขนส่ง/ผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมหนังสือตอบจากผู้ขนส่ง/ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
โทรตอนนี้ 0841033339
กดที่นี่เพื่อให้แสงทองโบรคเกอร์ดูแลคุณเป็นกรณีพิเศษทางไลน์ออฟฟิชเชี่ยล

เกี่ยวกับเรา

แสงทองโบรคเกอร์มีทีมด้านประกันวินาศภัยที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี เรามีความต้องการให้บริการกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดและบริการนั้นต้องเป็นบริการที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า โดยเป็นบริการที่ทำให้ถูกใจและเหมาะกับคุณลูกค้ามากจนลูกค้าต้องการบอกต่อเพื่อส่งผ่านสิ่งดีๆ

Copyright © SINCE 2017

Saengthong Broker Company Limited

ใบอนุญาตนายหน้า ว00006/2561

เลขทะเบียน :0105560072116

ติดต่อที่อยู่

บริษัท แสงทอง โบรคเกอร์ จำกัด

1 ซอยบางกระดี่ 1 แยก 10 แขวงแสมดำ

เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150

โทร: (+66)20208318

ช่องทางการติดต่อเพจแนะนำ
เว็บไซต์ประกันภัยรถยนต์ปลอดภัย
ใบอนุญาตนายหน้า ว00006/2561