LINE

ชี้แจ้งเรื่องประกันรถไฟฟ้า และคู่มือประกันรถยนต์ไฟฟ้า

คำชี้แจงนี้ให้มีผลบังคับตั้งแต่ 01/07/2567 หรือจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ทางเราหวังว่าผู้ที่อ่านจบบทความนี้จะได้ประโยชน์ในการตัดสินใจทำประกันภัยไม่มากก็น้อย

ชี้แจ้งเรื่องประกันรถไฟฟ้า

ตั้งแต่คำสั่งนายทะเบียนที่ 47/2566 ออกมาซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับให้ใช้แบบ ข้อความและพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้การประกันรถไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ซึ่งแสงทอง โบรคเกอร์จะสรุปและแจ้งลูกค้าหลักๆดังต่อไปนี้

คำสั่งนายทะเบียน 47/2566 รถไฟฟ้า คปภ.

  1. กธ.ที่ทำสัญญาก่อน 31/5/67 ใช้ความคุ้มครองแบบเดิม(นับวันทำสัญญานะครับไม่ใช่วันคุ้มครอง) หรือก็คือกรมธรรม์ที่ทำสัญญาประกันภัยก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 และยังไม่เปลี่ยนเป็นแบบกธ.ฉบับใหม่ จะใช้แบบกธ.เดิม
  2. คำสั่งนายทะเบียนมีผลต่อรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เท่านั้น (BEV)

ซึ่งจากคำสั่งและข้อมูลข้างบนผู้ที่ทำประกันตั้งแต่วันที่ 1/7/2567 เป็นต้นไปจะต้องพิจารณาเรื่องดังต่อไปนี้ครับ

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า แบบใหม่

ตามคำสั่งนายทะเบียน 47/2566 รถไฟฟ้า คปภ. หน้าที่ 2 หรือ 4/151(กรณี PDF) แจ้งว่าหลักฐานในการรับประกันภัยจะมี 3 ประเภท ดังนี้

กรมธรรม์ประกันภัยรถไฟฟ้า ประเภท 1

กรมธรรม์ประเภท 1 หรือ ประกันรถไฟฟ้าป.1 เป็นประเภทที่รถไฟฟ้าควรที่จะต้องทำและศึกษารายละเอียดครับ จะมีเป็นซ่อมอู่และ ซ่อมศูนย์/ห้าง เงื่อนไขหมวดความคุ้มครองจะมีเป็น

  1. หมวดเงื่อนไขทั่วไป
  2. หมวดความคุ้มครองรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก
  3. หมวดความคุ้มครองรถยนต์สูญหายไฟไหม้
  4. หมวดความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์
  5. เงื่อนไขเอกสารแนบท้าย

แสงทอง โบรคเกอร์เชื่อว่าต้องมีท่านใดสงสัย และสำหรับท่านที่สงสัยว่าแต่ละหมวดคืออะไรอ่านบทความนี้ต่อไปเรื่อยๆเราจะอธิบายในด้านล่างให้ครับผม

กรมธรรม์รถไฟฟ้าประเภท 1 มีกี่ประเภทย่อย
กรมธรรม์หรือกธ.รถไฟฟ้าป.1จะมีหลักๆคือซ่อมอู่และซ่อมห้าง/ศูนย์
  1. ป.1 ซ่อมห้าง หรือ ศูนย์ หรือ 0 หรือ ศูนย์บริการ
  2. ป.1 ซ่อมอู่
ประกันรถยนต์ไฟฟ้าประเภท 1 ซ่อมห้าง หรือ ศูนย์ หรือ 0 หรือ ศูนย์บริการ

ประเภทนี้จะสามารถซ่อมอู่ก็ได้หรือซ่อมห้างที่ศูนย์บริการก็ได้(แต่ต้องเช็คก่อนนะครับว่าศูนย์บริการนั้นมีแผนกพร้อมซ่อม มีแผนกซ่อมสีตัวถังหรือเปล่า)

ประกันรถยนต์ไฟฟ้าประเภท 1 ซ่อมอู่

ประเภทนี้จะสามารถซ่อมอู่ หรือเป็นการซ่อมนอกโชว์รูมรถ

ข้อแนะนำเกี่ยวกับประกันรถไฟฟ้า ป.1

การเลือกบริษัทประกันภัยจะแนะนำตามความเหมาะสมและความต้องการของท่านเป็นหลักครับ ไม่ว่าจะเป็น แบรนด์ ราคา ความน่าเชื่อถือ หรือเพื่อนบอกมา ดังนี้

เลือกบริษัทประกันที่มีชื่อเสียงมีความมั่นคง

หากท่านต้องการบริษัทที่มีชื่อเสียง มั่นคง เชื่อในแบรนด์ ให้ดูที่เงินสำรองกองทุนประกันภัยของบริษัทนั้นๆเป็นหลักครับ งบการเงินบริษัท และระยะเวลาที่บริษัทจัดตั้งอยู่มาแล้วกี่ปี

ราคาเบี้ยประกันและการชำระเงิน

ถ้าท่านมองที่ราคาประกันและการชำระเงินเป็นหลัก ให้เปรียบเทียบราคาประกันภัย/ราคาประกันรวมพรบ./ราคาประกันภัยรวมพรบ.และต่อภาษีเป็นหลัก การชำระเงินผ่อนเงินสดหรือผ่อนบัตรเครดิต 0% ไหม ผ่อนสูงสุดได้กี่งวด และที่สำคัญจ่ายเงินเข้าบริษัทประกันได้หรือไม่

หากท่านมองที่ทุนประกันรถยนต์

ทุนประกันรถยนต์คือวงเงินที่เราสามารถเข้าซ่อมได้ ทุนประกันควรครอบคลุมราคารถตลาด ณ ปีนั้นครับ เช่นราคาตัวรถรวมแบตปีแรกราคา 500,000 ทุนประกันควรอยู่ในช่วง 400,000+ ทุนประกันจะลดทุกปี ปีละ 20% จากปีปกติ เช่น ปีแรก 500,000 ปีต่อไป 400,000 ปีต่อไป 320,000 เป็นต้น ทั้งนี้อยู่ที่ฝ่านรับประกันเสนอเบี้ยประกัน ณ เวลานั้นด้วย

หากท่านมองที่ความสะดวกตอนเข้าซ่อมให้ดูว่าประกันเป็นคู่สัญญากับอู่/ศูนย์ซ่อมหรือไม่

ก่อนทำประกันควรทราบและถามอู่/ศูนย์ซ่อมว่ารับศูนย์บริการไหนบ้าง

การเลือกตัวแทนและผู้ขาย

ควรมีและตรวจสอบใบอนุญาตนายหน้า/ตัวแทนประกันวินาศภัย(ไม่ใช่ประกันชีวิต) และตรวจสอบได้ไม่หมดอายุ ควรโอนเงินเข้าบริษัทประกันภัยโดยตรงได้

ปัญหาที่อาจจะพบเจอในการทำประกัน
ถูกบอกไม่หมด ซื้อประกันป.1 แต่คนขายไม่บอกว่าเป็นซ่อมอู่

เบี้ยประกันซ่อมอู่จะถูกกว่าซ่อมห้าง ตอนทำประกันต้องถามและตรวจสอบว่าเป็นเบี้ยซ่อมอู่หรือห้างครับ และหน้ากธ.ส่วนมากจะไม่เขียนว่าซ่อมห้าง/ศูนย์ครับ เนื่องจากผิดหลักเกณฑ์ของกธ.(ไม่รู้ว่าทำไมครับและจะเปลี่ยนแปลงหรือเปล่าเมื่อใด) หลังจากได้รับกธ.แล้วอาจจะลองโทรเข้าไปเบอร์เคลมเพื่อสอบถามว่าประกันของเราเป็นป.1ซ่อมประเภทอะไรครับ

กรณีซื้อประกันแล้วเป็นซ่อมอู่ ต้องการซ่อมเข้าห้าง

สามารถแจ้งประกันคุมราคาได้ครับ แต่ต้องจ่ายส่วนต่างค่าอะไหล่และค่าแรงเพิ่ม

ถูกแจ้งให้ทำประกันล่วงหน้า

ประกันส่วนมากจะทำล่วงหน้าได้สูงสุด 3 เดือนครับ บางบริษัทอาจได้แค่ 2 เดือน เช่นประกันหมด 12/12/2567 จะทำได้ช่วงตอนเดือน 9 หรือเดือน 10 แล้วแต่บริษัท ถ้าจ่ายมัดจำก่อนอาจจะได้แค่ใบคำขอเอาประกันที่ใส่ข้อมูลเราแล้วซึ่งนั่นไม่ใช่หลักฐานการเอาประกันภัย

หลังทำประกันควรได้อะไรบ้าง

จะต้องมีหลักฐานแจ้งงาน และสักพักวันทำการไม่เกิน 2 วันควรจะได้เลขรับแจ้งครับ ถ้าซื้อพรบ.ด้วย จะได้กธ.ประกันภัยภาคบังคับ (เบี้ยตารางรวมอากรและvat รถเก๋ง 645.21 บาท)

ปล.นะครับ พ.ร.บ. = กรมมธรรม์ประกันภัยภาคบังคับ = ตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (สามอย่างนี้คือความหมายเดียวกัน) และ พ.ร.บ.กับป้ายภาษีแผ่นสี่เหลี่ยมคนละอย่างกันครับ บางท่านอาจจะเข้าใจผิด เราออกรถมาส่วนมากป้ายภาษีจะหมดพร้อมวันจดทะเบียนรถในเล่มครับ จะไม่ได้หมดพร้อมพรบ. เราต่อพรบ.นำพรบ.และสำเนาทะเบียนรถจ่ายค่าภาษีได้ป้ายภาษีครับ ไม่ต่อภาษีและพรบ.ขาด ถ้าโดนตรวจผิดกฏหมายต้องเสียค่าปรับครับ

หมวดเงื่อนไขในกรมธรรม์

อันนี้ยาวหน่อยและยาวแน่ หมวดเงื่อนไขความคุ้มครองหลักๆในกรมธรรม์จะมีดังนี้

  1. เงื่อนไขทั่วไป
  2. หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
  3. หมวดการคุ้มครองรถยนต์สูญหายไฟไหม้
  4. หมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์
  5. เงื่อนไขเอกสารแนบท้าย
ทีนี้เรามาดูแต่ละรายละเอียดกัน

หมวดเงื่อนไขทั่วไปในกรมธรรม์

เอกสารนี้ตอนก่อนซื้อเราจะไม่เห็นครับ ปกติไม่มีใครเอาออกมาให้ดูก่อน และลูกค้าก็คงไม่อยากดูครับเพราะมันเยอะมากๆ เราจะได้เอกสารนี้ตอนได้รับกรมธรรม์

Cash before Cover หรือ จ่ายเงินถึงจะคุ้มครอง

กรมธรรม์ประกันภัยนี้มีผลใช้บังคับทันทีเมื่อผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยแล้ว (ชำระเข้าบริษัทประกันภัยนะครับ ถ้าชำระเข้าตัวแทน/นายหน้าก็ต้องให้ตัวแทนนายหน้านำส่งเงิน ถ้าไม่ส่งเงินจ่ายบ.ประกันแล้วเกิดเหตุก็จะมีปัญหาได้) ตัวอย่างในข่าวจะเป็นตัวแทนเก็บเงินค่าประกันไม่แจ้งงานให้ ชิ่่งเงินหนี ไม่ส่งบริษัทประกัน

คำนิยามศัพท์ทั่วไป
  1. บริษัท หมายถึง บริษัทที่ออกกรมธรรม์ประกันภัย
  2. ผู้เอาประกันภัย หมายถึง บุคคลที่ระบุชื่อเป็นผู้เอาประกันภัยในตารางกรมธรรม์
  3. รถยนต์ หมายถึง รถยนต์ที่เอาประกันภัย ซึ่งมีรายละเอียดทะเบียน รุ่น ปี เลขตัวถังหรือข้อมูลระบุไว้ในตารางกรมธรรม์
  4. อุบัติเหตุแต่ละครั้ง หมายถึง เหตุการณ์หนึ่งหรือหลายเหตุการณ์สืบเนื่องกัน ซึ่งเกิดจากสาเหตุเดียวกัน
  5. ความเสียหายส่วนแรก หมายถึง ส่วนแรกของความรับผิด หรือความเสียหายอันมีการคุ้มครองตามข้อสัญญาหรือเอกสารแนบท้าย ความเสียหายส่วนแรกจะมี 2 ประเภทหลักๆคือ Excess และ Deduct ซึ่งเป็นคนละตัวกัน
ข้อยกเว้นทั่วไปในกรมธรรม์

กรมธรรม์จะไม่คุ้มครองจากผลทางตรงหรือทางอ้อมในกรณีดังต่อไปนี้

  1. สงคราม การรุกราน การกระทำของชาติศัตรู การสู้รบ การกระทำที่เข้าข่ายสงคราม
  2. สงครามกลางเมือง การแข็งข้อของทหาร การกบฏ การปฏิวัติ การต่อต้านภาครัฐ การยึดครองอำนาจการปกครองโดยกำลังทหาร หรือการกระทำอื่นๆที่เทียบเท่าการต่อต้านรัฐบาล
  3. วัตถุอาวุธปรมาณู
  4. การแตกตัวของประจุ การแผ่รังสี กัมมันตภาพรังสี กากปรมณู

การจัดการเรียกร้องเมื่อเกิดความเสียหาย
  1. โทรแจ้งประกันทันที
  2. อยู่ในที่ปลอดภัย
  3. ประกันจะจัดการในนามของผู้เอาประกันเพื่อประโยชน์ต่อลูกค้า
  4. กรณีบริษัทประกันภัยประวิงจ่ายค่าสินไหม หรือปฏิเสธการจ่ายสินไหมโดยที่ลูกค้าไม่ได้รับความเป็นธรรม ประกันจะมีความผิด
การแก้ไขกรมธรรม์

การแก้ไขรายการกรมธรรม์จะเปลี่ยนแปลงโดยเอกสารแนบท้ายของบริษัทประกันภัยหรือที่เรียกว่าสลักหลัง

การเพิ่มลดเบี้ยประวัติ

เคลมฝ่ายผิดมีสินไหมเบี้ยเพิ่ม ไม่เคลมประวัติดีเบี้ยลด ซึ่งจะเพิ่มหรือลดตามขั้น 20% 30% 40% และสุดที่ 50% รถปกติจะเพิ่มตามขั้นปกติ(อนาคตจะปรับเป็นตามประวัติผู้ขับขี่เหมือนรถไฟฟ้า) แต่รถไฟฟ้าตอนนี้มีเรื่องประวัติตามผู้ขับด้วยซึ่งซับซ้อนมากๆ อธิบายเข้าใจยากครับ แนะนำว่าเราซื้อประกันเพื่อกระจายความเสี่ยงเวลาเกิดเหตุไม่คาดฝัน เราขับรถอย่างไม่ประมาทและถูกกฏหมายไว้เสมอดีที่สุด

np

หลักๆจะแนะนำประมาณนี้ครับสำหรับผู้ใช้รถ ถ้าต้องการอ่านเพิ่มเติมผมจะแปะลิงค์ไว้ให้ด้านล่างๆๆสุด

ข้อมูลที่หลักฐานอ้างอิงที่ควรตรวจสอบเพิ่มเติม


คำสั่งนายทะเบียนที่ 47/2566

เงื่อนไขและความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ประเภท 1 โดยวิริยะประกันภัยโปรโมชั่นต่างๆเกี่ยวกับประกันวินาศภัยจากแสงทองโบรคเกอร์
เกี่ยวกับเรา

แสงทองโบรคเกอร์มีทีมด้านประกันวินาศภัยที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี เรามีความต้องการให้บริการกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดและบริการนั้นต้องเป็นบริการที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า โดยเป็นบริการที่ทำให้ถูกใจและเหมาะกับคุณลูกค้ามากจนลูกค้าต้องการบอกต่อเพื่อส่งผ่านสิ่งดีๆ

Copyright © SINCE 2017

Saengthong Broker Company Limited

ใบอนุญาตนายหน้า ว00006/2561

เลขทะเบียน :0105560072116

ติดต่อที่อยู่

บริษัท แสงทอง โบรคเกอร์ จำกัด

1 ซอยบางกระดี่ 1 แยก 10 แขวงแสมดำ

เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150

โทร: (+66)20208318

ช่องทางการติดต่อเพจแนะนำ
เว็บไซต์ประกันภัยรถยนต์ปลอดภัย
ใบอนุญาตนายหน้า ว00006/2561