ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ มีส่วนประกอบหลักคืออะไร

ชื่อผู้แต่ง : ทีมรับรอง เซ็นแบบวิศวกรรมของแสงทองโบรคเกอร์
วันที่เผยแพร่: 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2565
ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ มีส่วนประกอบหลักที่สำคัญคือ (๑) อุปกรณ์แจ้งเหตุ เพลิงไหม้ (๒) ตู้ควบคุมระบบ และ (๓) อุปกรณ์เตือนภัย โดยแต่ละส่วนประกอบเชื่อมต่อกัน ด้วยสายสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งระบบจะทำงานตรวจจับเพลิงไหม้และส่งสัญญาณเตือนภัย เพื่อให้ ผู้อยู่ภายในอาคารอพยพออกไปนอกอาคารหรืออพยพไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัยซึ่ง มีการกำหนดไว้
อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ มี ๒ แบบ
อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ มี ๒ แบบ คือ (๑) แบบจุด (Spot Type) ตามภาพที่ ๒ และ (๒) แบบต่อเนื่อง (Linear Type) โดยแบบจุด แบ่ง เป็น ๒ ประเภท คือ (๑) ประเภทลำแสง (Photoelectric Type) และ (๒) ประเภท รวม (Combine Type) โดยแบบรวมนี้ สามารถตรวจจับได้ทั้งควันไฟและความ ร้อน โดยอุปกรณ์ต้องได้รับการรับรองตาม มาตรฐานผลิตภัณฑ์สากลที่เป็นที่ยอมรับ เช่น UL (Underwriters Laboratories), FM (Factory Mutual) เป็นต้น
อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟแบบต่อเนื่อง มี ๒ ประเภท
อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟแบบต่อเนื่อง มี ๒ ประเภท คือ (๑) อุปกรณ์รับส่งอยู่ในชุด เดียวกัน และ (๒) อุปกรณ์รับส่งแยกชุดกัน โดยใช้ในการติดตั้ง กรณีหลังคาอาคารมีความสูงมากกว่า ๕ เมตร และมีระยะความยาวของอาคารมากกว่า ๕ เมตร แต่ไม่เกิน ๑๐๐ เมตร ในกรณีที่ระยะเกิน ๑๐๐ เมตร ต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์นี้เพิ่มเติม
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน มี ๓ แบบ
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน มี ๓ แบบ คือ (๑) แบบความร้อนคงที่ (Fixed Temperature Type) เป็นการตรวจจับที่อุณหภูมิคงที่ เช่น ที่อุณหภูมิ ๕๗ องศาเซลเซียส เมื่อ เกิดเพลิงไหม้และในพื้นที่มีความร้อนถึงอุณหภูมินั้น อุปกรณ์จะทำงานทันที (๒) แบบความร้อน ผันแปร (Rate of Rise Type) อุปกรณ์จะทำงานทันทีเมื่ออุณหภูมิภายในพื้นที่มีการเปลี่ยน อุณหภูมิ ๘ องศาเซลเซียส ภายในช่วงเวลา ๑ นาที (๓) แบบรวม (Combine Type) โดยแบบนี้ เป็นการรวมอุปกรณ์ตรวจจับแบบ (๑) และแบบ (๒) มาใช้ในอุปกรณ์ตัวเดียวกัน ซึ่งสามารถ ตรวจจับความร้อนได้ทั้ง ๒ แบบ
ในกรณีพื้นที่กระบวนการผลิต หรือพื้นที่จัดเก็บวัตถุไวไฟ อุปกรณ์ ไฟฟ้าทั้งหมดที่ติดตั้งภายในพื้นที่ ดังกล่าวต้องเป็นชนิดกันระเบิด (Explosion Proof Type) รวมทั้ง อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนต้อง เป็นชนิดกันระเบิดเช่นเดียวกัน
อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้
อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้มีหน้าที่ในการส่งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ กลับมาที่ตู้ควบคุม โดยเมื่อมีผู้พบเห็นเหตุเพลิงไหม้อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ก็สามารถแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้ ด้วยการใช้มือ ซึ่งมี ๒ แบบ คือ (๑) แบบกด และ (๒) แบบดึง
อุปกรณ์เตือนภัย มี ๓ แบบ คือ (๑) แบบเสียง ใช้ติดตั้งภายในพื้นที่ใช้งานทั่วไป และ (๒) แบบแสง ใช้ติดตั้งภายในพื้นที่ที่มีเครื่องจักรหรือในพื้นที่มีเสียงดังจนไม่ สามารถติดตั้ง อุปกรณ์เตือนภัยแบบเสียงได้ และ (๓) แบบรวม เป็นอุปกรณ์เตือนภัยแบบเสียงและแสงรวมกัน ในอุปกรณ์เดียวกัน
ตู้ควบคุมระบบมีหน้าที่ในการรับสัญญาณจากอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้แบบ อัตโนมัติและ แบบมือถือ เมื่อตู้ควบคุมได้รับสัญญาณจะทำการประมวลผลแล้วส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ เตือนภัย แบบเสียงหรือแสง โดยตู้ควบคุมมีหลายแบบซึ่งต้องมีการเลือกใช้ที่เหมาะสมกับ สภาพพื้นที่และ การใช้งานที่เหมาะสม การเชื่อมต่อสายสัญญาณจากตู้ควบคุมไปยังอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ และอุปกรณ์ เตือนภัยต้องติดตั้งสายสัญญาณภายในท่อร้อยสายไฟเพื่อป้องกัน ความเสียหายต่างๆ เช่น การกระแทก สภาพการกัดกร่อน หรือการกัดแทะของสัตว์ เป็นต้น รวมทั้งท่อร้อยสายไฟ และกล่องต่อสายสัญญาณต้องมีการทำสัญลักษณ์เพื่อให้แยกออกจากระบบไฟฟ้า อื่นๆ และเพื่อ ให้ทำการบำรุงรักษาระบบได้อย่างถูกต้อง
รับคำปรึกษาฟรี ติดต่อสอบถามโปรโมชั่นหรือราคาบริการพิเศษได้ที่ ค่าเซ็นแบบวิศวกรเครื่องกล หรือ คุยกับเจ้าหน้าที่โดยตรง ติดต่อปรึกษา ออนไลน์
ทำประกันภัยรถยนต์ วิริยะ กรุงเทพ คุ้มภัย
ใครที่กำลังมองหาประกันรถยนต์หรือต้องการทำประกันรถยนต์ เราขอแนะนำประกันรถยนต์ผ่านแสงทองโบรคเกอร์ มีส่วนลดสุดพิเศษ ทำประกันภัยรถยนต์ก็เป็นสิ่งสำคัญในการคุ้มครองรถยนต์ของคุณได้ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1 ที่ดูแลครบ จบทุกความต้องการหรือ ประกันรถยนต์ 2+ ซื้อง่ายคุ้มครองเร็ว หรือประกันรถยนต์ 3+ ประกันคุ้มจบในที่เดียว และใครที่กำลังมองหาการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ที่คุ้มค่า ที่แสงทองโบรคเกอร์เรามีครบจบที่เดียวสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติม ประกันรถยนต์ออนไลน์ หรือ คุยกับเจ้าหน้าที่โดยตรง ติดต่อปรึกษา ออนไลน์
ใหม่!!! โปรโมชั่นประกันภัย สำหรับท่านลูกค้าคนพิเศษ โปรโมชั่นสิทธิจำนวนจำกัด!!! รับส่วนลดพิเศษเฉพาะคุณ รับส่วนลดสุดพิเศษจากเบี้ยสุทธิ!!! (รวมส่วนลดพิเศษจากบริษัทประกันภัยทุกอย่าง อาทิเช่น ส่วนลดกล้อง แอป ประวัติดี เป็นต้น) ถ้าคุณเป็นผู้โชคดีเห็นข้อความนี้ ติดต่อเลยทันที บริษัท แสงทอง โบรคเกอร์ จำกัด สิทธิพิเศษมีจำนวนจำกัด
บทความยอดนิยมที่คนส่วนใหญ่สนใจ

เรื่องควรคิดก่อนทำประกันภัยอุบัติเหตุ ก่อนจะตัดสินใจทำประกันภัย ไม่ว่าจะประเภทใดก็ตาม สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ คือ การเลือกความคุ้มครองที่เหมาะสมกับตัวเรา ละในปัจจุบันมีหลากหลายช่องทางให้ค้นหา เช่น บน Google เราอาจจะใช้คำค้นว่า “ประกัน ที่ไหนดี” หรือการค้นหารีวิวประกันภัย บน Pantip ที่มีคนมาถามเรื่องประกันเยอะพอสมควร
ประกันภัย แสงทองโบรคเกอร์

ซื้อรถยนต์แต่ยังไม่ได้มีการโอน บริษัทประกันภัยคุ้มครองหรือไม่ เมื่อผู้เอาประกันภัยได้โอนรถยนต์แก่บุคคลอื่น ให้ถือว่าผู้รับโอนเป็นผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ และบริษัทต้องรับผิดชอบตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อไป ตลอดอายุกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังเหลืออยู่
ประกันภัย แสงทองโบรคเกอร์

ขับรถลุยน้ำ ห้ามเร่งเครื่องยนต์เด็ดขาดหากจำเป็นต้องขับรถผ่านพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง คงกลัวว่ารถจะดับกลางทางหรือไม่ จึงเร่งเครื่องยนต์เพื่อจะให้พ้นจุดที่มีน้ำท่วมขังไปอย่างรวดเร็ว แต่รู้ไหมว่าวิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่ผิดเพราะเสี่ยงทำเครื่องยนต์พังถึงขั้นต้องผ่าเครื่องกัน
ประกันภัย แสงทองโบรคเกอร์

เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับประกันชั้น1 การทำประกันภัยรถยนต์ มีรายละเอียดที่ผู้ทำประกันจะต้องทำความเข้าใจและอ่านเงื่อนไขความคุ้มครองให้ละเอียด ก่อนที่จะตัดสินใจทำประกันภัยรถยนต์ทุกครั้ง เช่น ความคุ้มครองของประกัน เบี้ยประกันและอีกมากมาย จนอาจทำให้บางคนเกิดความสับสนและเข้าใจผิดในรายละเอียดได้ โดยเฉพาะประกันชั้น 1 ที่หลายคนมักเข้าใจว่าทำประกันชั้น 1 คุ้มครองทุกกรณี ซึ่งความเข้าใจผิดเหล่านี้จะทำให้ผู้เอาประกันเสียผลประโยชน์โดยไม่รู้ตัว วันนี้เราจะมาบอก 5 เหตุผล ที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับประกันชั้น 1
ประกันภัย แสงทองโบรคเกอร์

วิริยะ ประกันภัย โทร มีทีมงานที่เชี่ยวชาญในการให้บริการลูกค้าผ่านโทรศัพท์ พร้อมความคุ้มครองที่ดีที่สุด
ประกันภัย แสงทองโบรคเกอร์

ค่าดีดักคืออะไร ในการซื้อประกันรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็น ประกันรถยนต์ชั้น 1 ประกันรถยนต์ชั้น 2+ หรือ ประกันรถยนต์ชั้น 3+ หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า ค่า deductible (ค่าดีดักทิเบิ้ล) กันมาบ้าง แต่อาจยังสงสัยว่า ค่า deductible ประกัน ชั้น 1 คืออะไร จำเป็นต้องจ่ายเมื่อซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ทุกครั้งเลยหรือไม่ และควรเลือกจ่ายเท่าไรถึงจะคุ้มค่า แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ ค่า deductible กันก่อนดีกว่าว่าคืออะไร
ประกันภัย แสงทองโบรคเกอร์